วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเร็วการขับเคลื่อนในการส่งยานอวกาศ



การส่งยานอวกาศ 
     แรงดึงดูดของโลก เป็นอุปสรรคสำคัญของการบินขึ้นไปในอวกาศ ผู้บุกเบิกงานทางด้านจรวดเข้าใจ
หลักการของการบินอวกาศโดยได้มาจาก การสังเกตุการณ์ และการคำนวน ของคอปเปอร์นิกัสกาลิเลโอ และคอปเลอร์ และกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แต่การนำกฎเหล่านี้มาใช้ในการสำรวจอวกาศจริงๆ ต้องรอ ต่อมาจนถึงสมัยมีการสร้างจรวด ให้มีกำลังมากพอจนออกไปนอกโลกได้ ตัวยานอวกาศที่ตั้งอยู่ข้างบน ของจรวดนำส่งหลายชั้น จะถีบตัวขึ้นไปข้างบน เพราะแรงปฎิกิริยาของไอพ่นซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของก๊าช ภายนมอเตอร์ ของจรวดถ้าหากแรงดันยก หรือแรงผลักดัน ของยานที่ถูกส่งขึ้นไป เพราะอำนาจของจรวด เป็นสองเท่า ของนำหนักของยานขณะถูกส่งขึ้นไป ยานอวกาศก็จะถูกส่งขึ้นใน อัตราเร่งเริ่มต้น ของหนึ่ง G หรือเท่ากับ 32.2 ฟุต ( 9.8เมตร )ต่อนาทีทุกๆ นาทีเนื่อง จากใช้เชื้อเพลิงเหลวแต่เพียงอย่างเดียว และถูกผลักดัน จากมอเตอร์ จรวดจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ และอัตรเร่งก็จะสูงขึ้น จรวดหลายชั้น
ระบบขับดันด้วยจรวดหลายชั้นแต่ระชั้นจะวางซับซ้อนกัน จรวดตำสุดหรือจรวดภาคแรกเมื่อถูกจุกระเบิด จะยกยานอวกาศขึ้นไปด้วยความร็วสูงมาก จนกระทั้งเชื้อเพลิงในจรวดขับดันขั้นแรกหมดพลังเมื่อถึงขั้นนี้ จรวดลูกแรกจะสลัดตัวออก และจรวดชั้นที่สอง จะถูกจุดระเบิดให้ทำงานต่อโดยการใช้เทคนิคเช่นนี้กับ เชื้อเพลิงชึ่งเชื้อเพลิงหมดไปแล้วจะถูกสลัดออกไป ดังนั้นจึงทำให้นำหนักของยานส่งมีนำหนักน้อยลง จรวดชั้นที่สอง มีแรงผลักดันตำกว่าจะเริ่มผลักดันยานนำส่ง และยานอวกาศยานนำส่งส่วนใหญ่จะมีสามชั้น คือ ชั้นไซออลคอฟสกี้ ชั้นกอดดาร์ด และ ชั้นโอเบิร์ต 

การบินสู่อวกาศ 

     โดยทั่วๆไป ในปัจจุบันการบินออกไปนอกโลกสู่อวกาศ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ ใช้จรวดสำรวจเดินทางไปสำรวจนอกบรรยากาศของโลก การโคจรรอบโลก การส่งยานอวกาศ เดินทางไปจากโลกและ การส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ หรือดาวเคราะห์ดวงอื่นๆการใช้จรวดสำรวจ นอกบรรยากาศของโลก จรวดส่งไปสำรวจชั้นบนของโลกลำแรกถูกส่งขึ้นไปใน ปี ค.ศ1945โดยยิงขึ้นไปเกือบเป็นแนวดิ่งโดยทั่วๆไป จะเป็นจรวดตอนเดียว มีความเร็วในการเดินทาง 3,000-5,000 ไมล์ (4,800-8,000 กิโลเมตร)ต่อชั่วโมง ส่วนมากเชื้อเพลิงของจรวดจะถูกใช้หมดไป ในระยะทางขึ้นปได้10-20 ไมล์ (16-32 ไมล์)หลังจากนั้น จรวดจะค่อยๆชะลอความเร็วจนมีความเร็วเป็นสูญ เมื่ออยู่ในระดับสูงสุดแล้วจรวดก็จะค่อยๆตกลงมา มีความเร็วของการตกเร็วขึ้นจนกว่าจะตกลงมาถึงพื้นโลกอุปกรณ์ต่างๆที่ติดขึ้นไปกับจรวดเพื่อรวบรวม ข้อมูลต่างๆบางครั้งจะถูกสลัดออกจากจรวดด้วยร่มแต่ส่วนมากเครื่องในจรวดวัดได้จะรายลงมาเป็นคลื่นวิทยุ ให้สถานีที่บริเวณที่ยิงจรวดรับได้หากใช้จรวดตอนเดียวส่วนมากจะขึ้นไปถึงระยะทาง 100 ไมล์ 

การหนีออกจากสนามแรงดึงดูดของโลก
     การหนีให้พ้นจากสนามแรงดึงดูดของโลกต้องส่งยานอวกาศให้มีความเร็วประมาณ 25,000 ไมล์(40,000กิโลเมตร)ต่อชั่วโมงในความเร็วขนาดนี้ยานอวกาศสามารถเดินทางพ้นจากอิทธิพลสนามแรงดึงดูด ของโลกและถ้าหากยานอวกาศที่ส่งขึ้นไปในอัตราความเร็วดังกล่าว ใต้อิทธิพลของแรงดึงดูดของเทห์ใดๆ บนท้องฟ้าแล้วมันจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนเทห์อื่นๆ ในระบบสุริยจักร์วาลที่อัตราความเร็ว(40,000ไมล์ต่อชั่วโมง)

ความเร็วหลุดพ้น 
     
     ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ความเร็วหลุดพ้นมีค่าประมาณ 11.2 km/s หรือ 40,320 km/h

ระบบป้องกันความร้อนของยานอวกาศ
วัสดุเสริมแรงคาร์บอน-คาร์บอน (reinforced carbon-carbon, RCC) เป็นวัสดุเสริมแรงที่มีคาร์บอนเป็นทั้งเมทริกซ์และเส้นใยเสริมแรง และเคลือบผิวนอกด้วยซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) เพื่อต้านทานการเกิดออกซิไดซ์ดีขึ้น ทนอุณหภูมิสูงถึง 1,650 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า ใช้ในบริเวณส่วนหัวและขอบปีก และจรวดขับเคลื่อนที่แยกตัวออกได้ เป็นต้น 
ฉนวนความร้อนทนอุณหภูมิสูงที่นำมาใช้ใหม่ได้ (high-temperature reusable surface insulator, HRSI) เป็นกระเบื้องที่ทำจากซิลิกาและเคลือบผิวด้วยแก้วโบโรซิลิเกต (borosilicate) ผสมซิลิคอนโบไรด์ (SiB4) ทนอุณหภูมิสูงประมาณ 650-1,200 องศาเซลเซียส ใช้ในผิวหน้าและด้านข้างของส่วนล่างของตัวยาน รวมทั้งบางจุดของส่วนหาง เป็นต้น 
ฉนวนความร้อนทนอุณหภูมิต่ำที่นำมาใช้ใหม่ได้ (low-temperature reusable surface insulator, LRSI) เป็นกระเบื้องที่ทำจากซิลิกาเคลือบด้วยแก้วโบโรซิลิเกต ทนอุณหภูมิได้ 400-650 องศาเซลเซียส ใช้ในบริเวณผิวด้านบนของปีก, ส่วนหาง , ด้านข้างส่วนบนของตัวยาน เป็นต้น
ฉนวนความร้อนแบบผ้าห่มที่นำมาใช้ใหม่ได้ (felt reusable surface insulation, FRSI) ทำจากไนล่อน และเคลือบผิวนอกด้วยซิลิโคน ทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 400 องศาเซลเซียส ใช้คลุมบริเวณผิวด้านบนของปีก ประตูห้องเก็บสัมภาระ เป็นต้น


credit : ฟิสิกส์ราชมงคล


ดวงดาวในระบบสริยะจักรวาล

ดวงดาวในระบบสริยะจักรวาล
               

ดวงอาทิตย์

    ดวง อาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เนื้อสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์คือ มีมากถึง 99.87% เป็นมวลสารดาวเคราะห์รวมกันอย่างน้อยกว่า 0.13% ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ บนฟ้า แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด จึงปรากฏเป็นวงกลมโต บนฟ้าของโลกเพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์อื่นปรากฏเป็นจุดสว่าง เพราะอยู่ไกลมาก ขนาดที่แท้จริงโตกว่าโลกมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 109 เท่าของโลก

ดาวพุธ
        











     ชาวโรมันโบราณเชื่อว่าดาวพุธ คือผู้นำสาสน์ของเทพเจ้าและเทพแห่งการเดินทาง เพราะดาวพุธปรากฎให้เห็นสลับกันระหว่างช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นและช่วงหลังดวงอาทิตย์ตกในเวลาอันสั้น นักสังเกตท้องฟ้าในสมัยโบราณจึงจินตนาการถึงดาวพุธในรูปของเทพที่มีการเดินทางอย่างฉับไวตลอดเวลา แม้แต่คำว่า เมอคิวรี ( Mercury ) ซึ่งเป็นชื่อของดาวพุธในภาษาอังกฤษก็แผลว่า ปรอท เป็นโลหะของเหลวที่ไหลไปได้อย่างอิสระดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียงดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ยเพียง 1 ใน 3 ของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ หรือประมาณ 60 ล้านกิโลเมตร และโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหึ่งรอบในเวลาเพียง 88 วัน เมื่อสังเกตจากโลก เราจะเห็นดาวพุธอยู่ทางด้านตะวันออกของดวงอาทิตย์ ครึ่งรอบวงโคจรและอยู่ทางตะวันตกอีกครึ่งรอบ แต่ละช่วงก็คือเวลาประมาณเดือนเศษเท่านั้น

ดาวศุกร์ (Venus)

         ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวที่สุกสว่างที่สุดบนท้องฟ้า โดยมีความสว่างเป็นรองเพียงดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เท่านั้น ผู้คนในสมัยโบราณจึงเชื่อว่าดาวศุกร์เป็นเทพธิดาแห่งความรัก ชาวไทยสังเกตดาวศุกร์มาช้านานเช่นกัน สังเกตได้จากการเรียกดาวศุกร์ที่ปรากฏในเวลาเช้าว่า ดาวประกายพรึก และเรียกดาวศุกร์ที่ปรากฏในเวลาพลบค่ำว่า ดาวประจำเมือง ซึ่งคนส่วนใหญ่ใช้เรียกมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วทั้งสองคือดาวดวงเดียวกัน

โลก

       ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่า จายา (Gaia) หรือมารดาแห่งโลก คือ เทพีแห่งพื้นพิภพที่เราได้อาศัยพักพิง ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดเทพยูเรนัส (Uranus) แห่งท้องฟ้า และเทพเนปจูน (Neptune) แห่งท้องทะเลสำหรับผู้นับถือศาสนาพราหมณ์และชาวไทยซึ่งรับวัฒนาธรรมมาจากศาสนาพราหมณ์ เชื่อว่าเทพแห่งพื้นพิภพนี้คือ พระแม่ธรณี ผู้ปกปักรักษาและให้ความร่วมเย็นแก่มนุษย์ทั้งปวง เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองวัฒนธรรมที่มาจากรากเหง้าต่างกัน กลับมีความเชื่อในเรื่องเทพของโลกคล้ายคลึงกัน
       โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ห่างดวงอาทิตย์ออกมาเป็นอันดับที่ 3 ในระบบสุริยะ ที่ระยะห่างนี้มีความเหมาะสมหลายประการ เช่น บรรยากาศ น้ำ ผืนดิน และพลังงาน ซึ่งเอื้อให้เกิดการวิวัฒนาการของสสารขึ้นจนถึงระดับที่ซับซ้อนมาก กล่าวคือ มีการวิวัฒนาการจากสารเคมีและโมเลกุลซึ่งไม่มีชีวิตเกิดเป็นสสาร อันมีชีวิตจิตใจและมีความคิดเชิงตรรกะที่ซับซ้อนยิ่ง

ดาวอังคาร (Mars)

        ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์สีแดง ทำให้ผู้คนเชื่อกันว่าเป็นเทพแห่งสงครามและการสู้รบความแข็งแกร่ง และสัญลักษณ์ของเพศชาย ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชื่อและข้อสันนิษฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วไปว่าดวงอังคารเป็นดาวที่มีสภาพเอื้อต่อการกำเนิด และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาเช่นเดียวกับมนุษย์ เพราะดาวอังคารเป็นดาวดวงที่อยู่ถัดจากโลกออกไปในระบบสุริยะที่มีขนาดเล็กกว่าโลกไปไม่มาก และมีคาบการหมุนรอบตัวเองใกล้เคียงกับโลก

 ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) 

         ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นที่รู้จักกันในตำนานกรีกและโรมันในฐานะราชาแห่งเทพเจ้าทั้งปวง ซึ่งพ้องกับการที่ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ
         ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ ( Jovian Planet ) ขนาดยักษ์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปเป็นระยะทางประมาณ 5.2 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งห่างไกลกว่าวงโคจรของดาวอังคารกว่า 3 เท่า ที่ระยะห่างนี้ พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงน้อยลง ก๊าซและสสารที่ระเหยง่ายจึงเริ่มรวมตัวขึ้นได้ ดาวพฤหัสบดีมีปริมาตรที่สามารถบรรจุโลกไว้ได้กว่า 1,300 ดวง และมีมวลมากกว่าสองเท่าของดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะรวมกัน

 ดาวเสาร์

         ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกมาเป็นอันดับที่ 5 ที่ระยะทางประมาณ 10 เท่าของระยะระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ หรือ 2 เท่าของขนาดวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ที่ระยะนี้พลังงานจากดวงอาทิตย์แผ่มาถึงเพียง 1.1 % ของพลังงานที่แผ่มาถึงโลกเท่านั้น หากสังเกตดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เราจะได้เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักดูดาวว่าเป็น วงแหวนที่สวยงามและโดดเด่นที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนทุกดวง
         ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดาวพฤหัสบดี โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสบดีประมาณ 1 ใน 5 แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าโลกกว่า 9 เท่า ละมีปริมาตรที่สามารถบรรจุโลกไว้ได้ถึง 763 ดวง

ดาวยูเรนัส ( Uranus )

         ดาวยูเรนัส ( Uranus ) เป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่มีการค้นพบในสมัยใหม่ต่างจากดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ที่เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว ดาวยูเรนัสค้นพบโดย วิลเลียม เฮอร์เชล (William Hershel) นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวเยอรมันที่มาตั้งรกรากในอังกฤษได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาด 6.4 นิ้วที่เขาประดิษฐ์ขึ้นเองส่องสำรวจท้องฟ้าอย่างเป็นระบบ และค้นพบดาวยูเรนัสในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1781 ในเบื้องต้นเขาคิดว่าวัตถุที่เขาพบคือดาวหางดวงหนึ่ง แต่หลังจากการติดตามสังเกตอยู่หลายสัปดาห์ เฮอร์เชลได้คำนวณวงโคจรของวัตถุที่เขาค้นพบและพบว่าวัตถุดังกล่าวคือดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ไกลจากวงโคจรของดาวเสาร์อกไปถึง 2 เท่า

 ดาวเนปจูน

          ดาวเนปจูนอยู่โคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 4,500 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 30 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ เวลา 1 ปีของดาวเนปจูนหรือระยะเวลาที่ดาวเนปจูนใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบยาวถึง 165 ปีของโลก นั่นคือตั้งแต่เรารู้จักดาวเนปจูนในปี ค.ศ. 1848 ดาวเนปจูนยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ไม่ครบหนึ่งรอบเสียด้วยซ้ำ ที่ระยะห่างนี้แม้แต่แสงจากดวงอาทิตย์ก็ยังต้องใช้เวลากว่า 4 ชั่วโมง จึงจะเดินทางถึงดาวเนปจูน (ในขณะที่ใช้เวลาเพียง 8 นาที 20 วินาที ในการเดินทางมาถึงโลก)
          ปัจจุบันมียานอวกาศเพียงลำเดียวที่เดินทางไปสำรวจดาวเนปจูน คือ ยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 12 ปี โดยได้สำรวจดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัส ไปตามรายทางก่อนจะไปถึงดาวเนปจูนในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 1989

ตารางแสดงขนาดและระยะห่างจากดวงอาทิตย์
ของดาวเคราะห์ในแบบจำลองย่อส่วน 1 พันล้านของระบบสุริยะ
วัตถุ
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์
ขนาด ( เซนติเมตร )
ดวงอาทิตย์-139.20
ดาวพุธ58 เมตร0.48
ดาวศุกร์108 เมตร1.21
โลก150 เมตร1.27
ดาวอังคาร228 เมตร0.80
ดาวพฤหัสบดี779 เมตร13.98
ดาวเสาร์1.4 กิโลเมตร11.65
ดาวยูเรนัส2.9 กิโลเมตร5.07
ดาวเนปจูน4.5 กิโลเมตร42.9
ดาวพลูโต5.9 กิโลเมตร
0.24

Credit :  Learning Science - ระบบสุริยจักรวาล NR' Si-Fi Team


วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

การกำเนิดจักรวาล

Credic : สารคดี กำเนิดจักรวาล 1

Credic : สารคดี กำเนิดจักรวาล 2